ในที่สุดก็ถึงวันประกาศผล ฉันไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไหร่ เพราะคาดว่าน่าจะได้แน่ๆ (เธอเอาความมั่นใจมาจากไหนมิทราบ) เรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เรามาดูโฉมหน้าผู้ที่จะไปติดอยู่บนเรือกับฉันเป็นเวลา 2 เดือนดีกว่า (ไม่นับการที่ต้องทำงานร่วมกันก่อนและหลังไปเรืออีกนะ) ขอสปอยล์เบาๆว่า แต่ละคนไม่ธรรมดาจริงๆ เยาวชนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกเรียกว่า Participating Youth หรือ PY สำหรับเยาวชนตัวแทนจากประเทศไทยนั้น ก็แค่เติมคำว่า Thai เข้าไป เลยกลายเป็น Thai Participating Youth หรือ TPY นั่นเอง ปีนี้เป็นปีที่ 42 พวกเราเลยเรียกตัวเองว่า ‘TPY42′ คณะเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกทั้งส่วนกลางและส่วนจังหวัดทั้งหมด 28 คน บวกหัวหน้าคณะผู้แทนเยาวชน (National Leader หรือ NL) เข้าไปอีกคน รวมทีมจากประเทศไทยไปเผยแพร่วัฒนธรรม 29 คน หล่อสวยแค่ไหนมาดูกัน 1.พี่มิตร ก่อนอื่นขอแนะนำบุคคลสำคัญที่สุดในคณะเยาวชน ‘พี่มิตร’ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเยาวชน ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแลพวกเราเหล่าคณะเยาวชนผู้มากปัญหาตลอดทั้งโครงการ พี่มิตรใจดีและเชื่อในตัวพวกเราว่าจะทำทุกอย่างออกมาได้ดี แม้จะมีช่องว่างระหว่างวัยที่กว้างพอสมควร แต่ก็ไม่เคยเป็นปัญหา เคยถามพี่มิตรว่าเหนื่อยไหมที่ต้องมารับผิดชอบอีก 28 ชีวิต พี่มิตรเพียงยิ้มและบอกว่าไม่เหนื่อยแถมยังภูมิใจในตัวพวกเราอีกตั้งหาก ต้องขอขอบคุณพี่มิตรมา ณ ที่นี้ ที่เป็นกำลังใจและแรงผลักดันให้เรามาตลอด 6 เดือน ขอบคุณจริงๆ ...
Read More »SSEAYP
ชีวิตเด็กเรือ: #2 สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์
หลังจากฝากใบสมัครไปกับคุณสำลี (ที่บินมาเยี่ยมที่สิงคโปร์พอดี) เพื่อไปหย่อนตู้ไปรษณีย์ในไทย (จริงๆก็อยากส่งที่นี่สิงคโปร์ แต่กลัวไม่ถึง) ก็ได้เวลาเตรียมตัว ไปค้นๆในอากู๋ ข้อมูลช่างน้อยเหลือเกิน ปั๊ดโถ่ จ่ายตังค์ค่าเครื่องไปแล้วนะเฟ้ยยย (ไอ้นี่งก) เลยตั้งใจว่า ถ้าสอบติดจะเขียนบล็อกแชร์ตอนไปสอบให้ได้ สำหรับคนที่ไม่มีใครให้ถาม เช่น ตัวฉันเอง เป็นต้น การสอบข้อเขียน มีจุดประสงค์เพื่อวัดความสามารถทางภาษาปะกิต ซึ่งเป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสารตลอดโครงการ ข้อสอบปีนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1. Structure/Grammar: ค่อนข้าง tricky มีตัวเลือกหลอกเยอะ ควรจะแม่นแกรมม่าในระดับหนึ่ง 2. Reading Comprehension: อ่านและวัดความเข้าใจธรรมดา 3. Essay: มีหัวข้อให้เลือก ประมาณ 4-5 หัวข้อ ให้เขียนอธิบายความคิดประมาณ 2 หน้ากระดาษ A4 ในปีที่ฉันสอบ มีหัวข้อคร่าวๆคือ มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการจัดตั้ง ครม. บลาๆๆๆ – เกี่ยวกับ political issues ขนาดนี้ นอกจากจะเสี่ยงที่จะตอบ (กลัวถูกโดนเอาตัวไปปรับทัศนคติ) แล้วยังไม่มีความรู้อีกตั้งหาก อันนี้เจนเรียนวิศวะมาเจนเลยผ่านนนนนนนนนนนนน การออมเงินของเยาวชน – คนส่วนใหญ่เลือกอันนี้ ...
Read More »ชีวิตเด็กเรือ: #1 ทำไมถึงสมัครโครงการเรือ
หลังจากห่างหายไปจากวงการการเขียนบล็อกมานานมาก (จน spam ขึ้นเต็มเว็บ -.-) ก็ได้เวลา update ซักทีสินะ ซีรีย์นี้จะเขียนเกี่ยวกับโครงการเรือที่ฉันจับผลัดจับผลูไปสมัครมา เป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่แปลกใหม่แหวกแนวจนอยากจะมาแชร์ โครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ (The Ship for Southeast Asian and Japanese Youth Programme – ย่อว่า SSEAYP ออกเสียง ‘เซียพ’) เป็นโครงการที่จัดโดยรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อสานสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนจากประเทศที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 11 ประเทศ ใช้ชีวิตอยู่บนเรือสำราญร่วมกันราว 2 เดือน ซึ่งเรือจะแวะเทียบท่าตามประเทศต่างๆด้วย ครั้งแรกที่ฉันได้รู้จักโครงการนี้จากเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่ผุดขึ้นมาในหัวคือ ‘ชีวิตดี๊ดี ได้ไปเที่ยวบนเรือสำราญโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย’ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าอยากจะสมัครเข้าไป เพราะตัวเองไม่ใช่แนวทูตเจริญสัมพันธไมตรี จิตใจดี พูดไพเราะอยู่แล้ว วันๆ เอาแค่ไม่ทะเลาะกับลูกค้ายังต้องข่มจิตข่มใจอยู่ตลอดเวลา ตอนที่ได้ไปทำงานที่สิงคโปร์ ยามเย็นว่างๆก็ฉุกคิดขึ้นมาถึงโครงการนี้ เพราะเพื่อนร่วมงานคนที่เล่าให้ฟังนั้น เธอได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศจากบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย เกือบจะได้ไปดันติดโครงการนี้ขึ้นมาซะก่อน เนื่องได้ข้อจำกัดทางด้านเวลา เธอเลยลาออกจากทุนซะเลย! สำหรับฉันที่มีความฝันสูงสุดคือการได้เรียนต่อต่างประเทศถึงกับอึ้ง แสดงว่าโครงการนี้มันคงจะมีอะไรดีแน่ๆ เลยลองถามอากู๋และก็ได้ความว่ากำลังเปิดรับสมัครพอดี เลยได้ที โหลดใบสมัครมานั่งอ่านพร้อมกับชวน(บังคับ)คุณสำลีให้สมัครด้วย ตอนนั้นคิดถึงเรื่องไททานิก มันคงจะโรแมนติกเป็นบ้าเลย คุณสมบัติหลักๆของคนที่จะสมัครได้คือ 1. สัญชาติไทยตามบัตรประชาชน ...
Read More »