เนื่องจากมีความเบื่อจากการดูซีรีย์เกาหลีและอ่านนิยายจีน เลยขอสลับมาเขียนเกี่ยวกับเรื่องที่มาเรียน MBA อีกครั้งหนึ่ง อยากจะเล่าย้อนไปตอนที่มาถึงใหม่ๆแล้ว Kellogg จัดรับน้องเตรียมเรียน MBA นึกถึงอารมณ์ตอนปอตรีเข้าวิศวะแล้วมีรับน้อง 3 เดือนกว่าจะได้เกียร์ อันนี้จัดไป 3 วัน อัดแน่นครบทุกรสชาติแบบเรียกได้ว่า การรับน้องระดับโลก เป็นอย่างนี้นี่เอง
กิจกรรมรับน้องที่ Kellogg ถูกเรียกว่า CIM ย่อมาจาก Complete Immersion in Management แต่ก่อนมีห้าวันแต่มันคงหนักไป จัดไปจัดมา ในปีของฉัน (Class of 2021) เหลือ 3 วัน 3-5 September 2019 แล้วก็เริ่มเรียนเลยหลังจากนั้น
แม้จะผ่าน ACE (ตามอ่านได้ที่ https://wp.me/p6REJW-1nV), KWEST (ตามอ่านได้ที่ https://wp.me/p6REJW-1md) และกิจกรรม Social Impact (เดี๋ยวเขียนแล้วเอาลิงค์มาให้นะ) มาแล้ว แต่ฉันก็ยังตื่นเต้นกับ CIM อยู่มาก เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่จะได้เจอกับเพื่อนร่วมคลาสทั้ง 450 ชีวิตแบบจัดเต็มไม่มีกั๊ก ถือเป็นการเริ่มต้นชีวิต MBA ที่ฝันไว้มาหลายปี แบบเป็นทางการ ติดแท็ก #OfficialMBALife
23 August 2019 – Orientation
ก่อนจะเริ่มกิจกรรม CIM กันจริงๆ ก็มีการนัดไป orientation ก่อนวันนึง จริงๆไม่มีอะไรมาก ช่วงเช้าก็ไปถ่ายรูปทางการ (ซึ่งออกมาห่วยแตกจนไม่อยากจะมอง แล้วทางโรงเรียนก็ส่งเมลมาให้ซื้ออยู่ได้ ชิ) ไป pronounce ชื่อตัวเอง (professor จะได้ออกเสียงได้ถูก ซึ่งก็ไม่ถูกอยู่ดี พอดีชื่อฉันง่ายเลยรอดไป แค่โดน cold call เยอะ TT) ไปรับล็อกเกอร์ ป้ายชื่อที่จะใช้ตั้งหน้าโต๊ะอีกตลอดระยะเวลา 2 ปีที่เรียนอยู่ที่นี่
ช่วงเย็นมีการปฐมนิเทศโดยแนะนำ Dean คนใหม่ ซึ่ง Kellogg เลือกมาเพื่อจะปูทางไปด้าน Finance บ้าง หลังจากดังอยู่อย่างเดียวคือ Marketing
สารภาพตามจริงแบบไม่อาย แค่ได้ไปนั่งดูวีดีโอตอนเริ่มก็น้ำตาแทบไหลแล้ว ในที่สุดก็มีวันนี้ ฉันทำได้ ดีจัยยยยยยยย
และไฮไลท์ก็คือโรงเรียนเชิญ Lizzie Velasquez ตัวเป็นๆ มาพูด
หัวข้อที่พูดเกี่ยวกับการที่ให้เรามั่นใจในตัวเอง แสดงจุดเด่นออกมา ออกมาจากความคิดว่าเราด้อยกว่าคนอื่น จุดประสงค์ที่โรงเรียนเลือกหัวข้อนี้ขึ้นมาพูด เพราะรู้ว่า MBA คือที่รวมตัวสุดยอดมนุษย์จากทุกมุมโลก ซึ่งบ่อยครั้งเป็น environment ที่ intimidating มากและอาจจะทำให้หลายๆคนสูญเสียความมั่นใจที่เคยเป็นที่หนึ่งมาโดยตลอดในโลกเล็กๆของตัวเองได้
อันนี้ Ted Talks ของ Lizzie พูดคอนเซ็ปต์ประมาณนี้แค่ปรับๆให้เข้ากับชีวิต MBA Lizzie ยังแอบหยอดมุกอีกว่าตอนถูกเชิญไปมีงงว่าจะไปพูดอะไรให้พนักงานในบริษัทผลิต cereal เอิ่มมมม
3-5 September 2019 – CIM
หลังจากรีบเร่งมากินข้าวเช้า (ฟรี) ที่โรงเรียน ก็เริ่มต้นด้วยการแจกเสื้อตาม Section ต่างๆ โดยนมนามมาแล้ว Kellogg จะจัดแบ่งนักเรียนเข้า Section ตาม background ของแต่ละคน แต่เดี๋ยวนี้กลับกันคือตั้งใจกันให้คละกันที่สุด แต่ชื่อ Section ต่างๆก็ยังคงความหมายของ background ไว้ตามเดิม
ขอปูเรื่องราวคร่าวๆก่อนว่า Kellogg จะมี 5 โปรแกรมหลักๆ
- 2Y คือคนที่มาเรียน 2 ปีปกติ เป็นโปรแกรมหลัก มีนักเรียนทั้งสิ้นประมาณ 400 คนนิดๆ (ฉันจัดอยู่ในโปรแกรมนี้)
- MMM (อ่านว่า triple M) คือเรียน 2 ปีกับอีก 1 summer เทอมได้ 2 ดีกรี คือ MBA กับ Design Innovative มีนักเรียนอยู่ประมาณ 60 คน
- JD-MBA คือ MBA + Law มีนักเรียนอยู่ประมาณ 10-20 คน
- MD-MBA คือ MBA + หมอ มีนักเรียนอยู่ประมาณ 10-20 คน
- 1Y คือเรียนปีเดียวจบ แต่ต้องมีพื้นฐาน business มาแล้ว และไม่เหมาะกับคนที่ต้องการเปลี่ยนสายงาน (เพราะไม่มี summer internship ให้ลอง pivot ไปสายอาชีพอื่น) มีนักเรียนอยู่ประมาณ 130 คน
โปรแกรม 2Y, MMM, JD-MBA และ MD-MBA ประกอบด้วย 8 Section ดังนี้
- Big Dogs – นักเรียนที่มาจาก Fortune 100 companies
- Buckets – นักเรียนที่มาจาก military ได้แรงบันดาลใจการตั้งชื่อมาจากหมวกที่ทหารสวมใส่
- Bullfrogs – นักเรียนที่ต้องการเปลี่ยนสายอาชีพ (กระโดดจากอาชีพนึงไปอีกอาชีพ)
- Cash Cows – นักเรียนที่ทำงานสาย bank/finance มาก่อน
- Highlanders – นักเรียนที่ทำสาย social impact มาก่อนหรือนักเรียนแลกเปลี่ยนจาก Scotland
- Moose – นักเรียน international กลุ่มแรกซึ่งมาจาก Canada
- Poets – นักเรียนที่จบ liberal arts มาก
- Turkeys – นักเรียนที่มี background ไม่เหมือนชาวบ้าน (non-tradition)
ส่วนโปรแกรม 1Y มี 2 Section แยกออกไปต่างหากเป็นของตัวเองคือ
- Hedgehogs – ได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวการ์ตูน Sonic สายฟ้า ซึ่งเป็นตัวแทนของนักเรียน 1Y ที่วิ่งทะลุผ่าน MBA โดยใช้เวลาแค่ปีเดียว
- Roadrunners – ความหมายประมาณเดียวกัน เป็นตัวการ์ตูนที่วิ่งเร็ว
ส่วนฉัน แข็งแกร่งบึกบันปานนี้ เลยถูกจัดให้อยู่ใน Section ทหาร Buckets นั่นเอง เอิ่มมมมมมมมมม
Section Introduction
มาถึงวันแรกก็เข้าห้องไปรู้จักเพื่อนใน Section กันก่อนเลย กลุ่มคนที่จะถูกจัดให้สนิทกันที่สุดในสองปีนี้ ที่นั่งถูกจัดให้นั่งเรียงตามนามสกุล ฉันดวงดีหรือยังไงไม่รู้ อยู่ตรงกึ่งกลางห้องพอดี ความรู้สึกที่ก้าวเข้าไปให้ห้องครั้งแรกคือ กลัวมากและมั่นใจแน่ๆว่าไม่มีทาง และไม่มีวันสนิทกับเพื่อนใน Section ได้ คือฝรั่งทั้งนั้น (ฉันมีบาดแผลฝังใจฝรั่งไม่คุยด้วยตอนไปดูโรงเรียนที่ Duke Fuqua มา) แต่นี่มันยิ่งกว่าตอน Duke อีก แต่ละคนหน้าตาก็ไม่เห็นเป็นมิตร บางคนก็ตะโกนโหวกเหวกโวยวายจะมั่นใจอะไรปานนั้น พวกรู้จักกันก็จับกลุ่มคุยกันเสียงดัง อีนี่ไม่รู้จักใคร ก็ได้แต่ปาดเหงื่อและเดินไปนั่นที่ที่นั่งของตัวเองเงียบๆ ทำใจว่า เอาวะ เรายังมีเพื่อน ACE และเพื่อน KWEST ซึ่ง แม่มไม่มีใครอยู่ใน Section นี้ให้คุยแก้เขินซักคน ดวงค่ะ ดวงงงงงงงงง
ก่อนจะมาวันนี้ Section Leader ซึ่งเป็นปีสอง (ขอไม่เรียนว่าพี่ เพราะส่วนใหญ่เด็กกว่าฉันซะอีก) สั่งให้ทุกคนเตรียมสไลด์มาแนะนำตัวเองแล้ว ให้เล่า 3 อย่างเกี่ยวกับตัวเอง หารูปและคำบรรยายสั้นๆแปะพอสังเขป แล้วก็ยืนแนะนำตัวกันไปเรื่อยๆ
ข้างล่างนี้คือของฉันที่เตรียมไป ยืนแนะนำตัวเองแบบกลัวๆตามสคริปที่ท่องไว้ เรียกเสียงฮาจากเพื่อนได้ก็พออุ่นใจ ในใจคือเครียดมาก รอดไป
Culture Box
กิจกรรมต่อไปคือการนำของสามอย่างมาแชร์ให้เพื่อนกลุ่มเล็กๆใน Section ฟัง บอกเล่าที่มาของตัวเอง ที่ฉันเอาไปก็คือยาดม ผงทำต้มยำ แล้วก็รูปครอบครัว ที่เพื่อนๆเอามาก็เช่น เพื่อนชาวอิสราเอลกับเกาหลีใต้เอาหมวกทหารของตัวเองมาให้ดู ส่วนเพื่อนชาวเคนย่าเอาหมวกชนเผ่าของเค้ามา เพื่อนอเมริกันเอาเสื้อทีมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกที่ตัวเองเชียร์มาโชว์ เป็นต้น เป็นกิจกรรมสั้นๆที่ค่อนข้างเข้าใจง่ายและน่าสนใจเลยทีเดียว
Bridge Building
เอาจริงเกลียดกิจกรรมนี้ที่สุดแล้ว อารมณ์ให้คน 70 คนที่เพิ่งรู้จักกันและมาจาก background ต่างกันสุดขั้นมาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสะพานที่สามารถรับน้ำหนักคน 1 คนเดินได้ในเวลาที่จำกัด และออกไป present หาว่า Section ไหนทำได้ดีที่สุด ยังดีที่โรงเรียนช่วยแบ่งกลุ่มแรงงานให้ไว้ก่อน โดยสุ่มจับฉลาก (แต่ก็สามารถแลกฉลากกันได้ตามความถนัด) แบ่งเป็นกลุ่ม Builder, Designer และ Presenter ฉันจับได้กลุ่ม Presenter แน่นอนว่าต้องไปแลกกับเพื่อนไปอยู่กลุ่ม Builder ชนชั้นใช้แรงงานตัดกล่องทำสะพาน ณ ตอนนี้ กุ present ไม่ไหวจริงๆ out of comfort zone เกิ๊น ค่อยเป็นค่อยไปนะลู้กกก
รอพวก Designer ออกแบบสะพาน
เริ่มสร้างจนเป็นรูปเป็นร่าง
ตกแต่งสะพานส่งท้ายจนหมดเวลาพอดี
และก็ได้เวลา present สะพานของแต่ละ Section โดยมีเพื่อนๆตะโกนเชียร์แบบอึกทึก สุดท้าย Section ของฉันไม่ได้รางวัลอะไรซักอย่างทั้งๆที่สะพานออกจะแข็งแรงสวยงาม ดันเป็น Poets ที่สะพานอ่อนแอแต่ใช้วิธีแหวกแนวร้องแร็ปผสม beatbox สดๆ ซึ่งก็ไม่ได้ดีอะไร (อคติล้วนๆ แต่ไม่ pro จริงนะ) ในการ present
ป.ล. ถ้าเพื่อนมาอ่านเจอต้องถูกด่าแน่นอน เพราะมันอยู่ Section ที่ชนะและเป็นคนออกแบบสะพาน 555
Small Group Dinner
จบวันแรกด้วยการไปกินข้าวกับเพื่อนใน Section เป็นกลุ่มเล็กตามที่ได้ assign โดยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จะต้องทำกิจกรรมสำคัญ Crucible Moment ในวันสุดท้าย ฉันไม่ได้หวังอะไรมากกับการมากินข้าวกับเพื่อนกลุ่มนี้ คิดว่าเดี๋ยวก็คงเหมือนๆกับ Small Group Dinner ทั่วไป จบแล้วจบกัน พอมาดูรูปอีกทีก็ไม่อยากจะเชื่อว่ามีสามในห้าที่กลายมาเป็นเพื่อนสนิทในภายหลัง Kellogg นี่แยบยลจริงๆ
ไอมือที่ทำไปนางกวักอยู่คือท่าบังคับของ Buckets คือเวลามีคนพูดว่า ‘Buckets’ คนใน Section ต้องทำท่านางกวักและพูดว่า ‘Swish’ มาจากการชู๊ตบาสลงห่วง (เพราะห่วงบาสก็เรียกว่า bucket เหมือนกัน) ภาษาอังกฤษมันซับซ้อนได้ปานนี้เลยหรือไงฟระ
CIM Olympics
เริ่มต้นวันถัดมาด้วยการแข่งขันกีฬาระหว่าง Section เป็นกลยุทธ์การเสริมสร้างความผูกพันภายใน Section ผ่านการแข่งขันระหว่าง Section อารมณ์ร่วมแรงร่วมใจเอาชนะ/แพ้ (ในกรณี Section ฉัน) ด้วยกัน โดยกีฬาจะมีอยู่ 4 อย่าง ได้แก่ Tug-of-War (ชักเย่อ) Formation (ให้คำมาแล้วต้องรีบ form เป็นตัวอักษรตามคำที่ให้) Hoop Challenge (ยืนจับมือกันเป็นวงกลมแล้วส่งฮูลาฮูปให้ครบวง) Human Foosball (เตะฟุตบอลโดยผู้เล่นแต่ละคนต้องจับเชือกไว้ที่ขึงเป็นเส้นตรงไว้ วิ่งไปไหนตามใจไม่ได้ เหมือนที่เล่นตามตู้เกม)
โดยจะมี Google Sheet ให้ไปลงชื่อเล่นกีฬาต่างๆ หรือจะสมัครใจยืนเชียร์ก็ไม่ว่ากัน ด้วยความมั่นใจในความสามารถทางกีฬาของตัวเอง ฉันลงไป 3 อย่างยกเว้นชักเย่อ เห็นตัวฝรั่งแต่ละคนแล้ว กุยอม
มีการนำวอร์มก่อนลงเล่นจริง
Hoop Challenge ขอบอกว่า Section ฉันชนะในเกมนี้นะจ๊ะ มีคนตัวอ่อนเอวบางร่างน้อยอย่างฉันอยู่ก็งี้แหละ
ชักเย่อก็ทำดี ชนะสีเขียว (Highlanders) ทั้งชายและหญิง จนโดนเกลียดกันไปข้างนึงเลย จริงๆพอเชียร์กันเสียงดังด้วย เพื่อนเอากระถงกระถึงมาตีเชียร์กีฬากันอึกทึกครึมโครม เป็นที่ศูนย์รวมความเกลียดชังของ Section อื่นๆไปซะงั้น ม่ายยยย
Diversity & Inclusion
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ฉันชอบที่สุด เพราะมีส่วนช่วยให้เพื่อนๆ Majority ชาวอเมริกันที่มีอยู่ 70% ของประชากรตระหนักว่าจุดประสงค์หนึ่งของการมาเรียน MBA คือการเรียนรู้ที่จะอยู่และทำงานกับคน background หลากหลาย เลยเหมือนไปสะกิดต่อมเพื่อนหลายคนว่าควร include และไปทำความรู้จักกับพวกเต็ก international อีก 30% ด้วยนะ (จริงๆน้อยว่า 30% เพราะโรงเรียนแอบนับ คนที่ถือ 2 passport หรือคนที่มาเรียนที่อเมริกาตั้งแต่เล็ก/ปอตรีว่าเป็น international ทั้งๆที่กลุ่มคนพวกนี้คือคุ้นเคยกับ culture และภาษาของที่นี่อยู่แล้วไม่ต้องปรับตัวอะไร) คือจริงๆเค้าพูดหลายเรื่องไม่ใช่แค่เชื้อชาติ เช่น เพศสภาพ ฐานะการเงิน จุดประสงค์ของการมาเรียน MBA conflict ต่างๆ แต่เรื่องเชื้อชาติกับสีผิวเป็นอะไรที่เห็นชัดเจนสุดเท่านั้นเอง
จริงๆกิจกรรมนี้เป็นกึ่งๆความลับ แต่เชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะไปเรียน MBA ที่ Kellogg (ใครจะมาก็ skip ได้ ถือเป็น spoil alert) ที่อยากมาแชร์เพราะคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ ที่น่าเอาไปทำตามเพื่อให้คนเปิดใจยอมรับ Diversity นั่นเอง
เริ่มจากให้ทุกคนไปยืนล้อมวงกันในสนาม และถามคำถาม เช่น ใครชอบช็อกโกแลต คนที่ชอบช็อกโกแลตก็ก้าวมาข้างหน้า ง่ายๆแค่นั้น แต่คำถามมีทั้งแบบเบสิคและ hardcore เช่น ใครมาจากครอบครัวยากจน/ร่ำรวย ใครเคยกลัวว่าตัวเองจะท้อง ใครเป็นลูกที่ถูกรับมาเลี้ยง ใครจัดอยู่ได้ LGBTQ ใครนับถือศาสนาพุทธ (มีอยู่ 4-5 คนจาก 450 คน เพิ่งรู้ว่าศาสนาพุทธคนนับถือในโลกน้อยมากเมื่อเทียบกับศาสนาอื่น) ใครเคยโดน sexual harrasement มาก่อน ใครมา Kellogg เพื่อมาหารักแท้ เป็นต้น
จบกิจกรรมภาคสนามก็มีการ debreif ในห้องกันต่อ ในขณะที่ฉันพบสิ่งใหม่ๆ พวกฝรั่งก็พบสิ่งใหม่ๆเช่นกัน มีคนหนึ่งยกมือแชร์ความรู้สึกว่า เพิ่งรู้ว่ามีคนไม่ต้องกู้เงินรัฐเรียน คนพวกนี้โชคดีจริงๆ ไม่เหมือนตัวเขาที่ลำบากต้องหาเงินมาใช้หนี้ (เพราะในอเมริกาค่าเรียนแพง หลายๆคนต้องกู้เงินเรียนตอนปอตรี) ทำเอาพวกไม่ต้องกู้เงินซึ่งอาจจะด้วยเหตุผลที่ว่าค่าเรียนถูก (ประเทศอื่นๆนอกจากอเมริกา) หรือได้ scholarship หรือเอาจริงๆคือบ้านรวย มีเคืองกันเลยทีเดียว
บทเรียนที่ฉันได้คือ แต่ละคนอยู่ใน context ชีวิตที่ต่างกัน มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ไม่สามารถสรุปได้ว่าใครมีดีหรือเก่งกว่าใคร แต่ต้องพึงตระหนักไว้ว่าเนื่องจาก background แต่ละคนต่างกัน ให้เผื่อใจว่าต้องมีการเข้าใจผิดเกิดขึ้นบ้าง และให้เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา
จบวันด้วยประการฉะนี้
Crucible Moment
เริ่มวันสุดท้ายด้วยกิจกรรม Hilight ที่คนพูดถึงเยอะที่สุด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ฉันชอบรองลงมาจาก Diversity & Inclusion โดยกิจกรรมนี้ให้แต่ละคนเตรียม Slides เล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของตัวเองในเพื่อนกลุ่มเล็กๆ (กลุ่มเดียวกับที่ไป Small Group Dinner ฟัง) กิจกรรมนี้ทำให้ฉันได้รู้ว่า ถึงแม้ตัวฉันเองจะภูมิใจว่าตัวเองฝ่าฟันจากเด็กบ้านนอกคนหนึ่งจนได้มาเรียนในโรงเรียนระดับโลกที่มีค่าเรียนมหาโหดได้ เพื่อนคนอื่นก็ไม่ต่างกัน บางคนกลับมีเรื่องราวในชีวิตที่ต้องให้ต่อสู้และฝ่าฝันมากมายกว่าฉันด้วยซ้ำ เพื่อนคนหนึ่งเล่าว่า ตอนเด็กๆคือไม่มีจะกิน ต้องไปอยู่กับญาติและโดนเฮอร์ริเคนพัดซ้ำ ที่กู้เงินมาเรียน MBA เหมือนเป็นความหวังที่จะยกระดับครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกคนเคยช่วยชีวิตเพื่อนที่ถูกพัดไปในทะเลจนเกือบตายมาก่อน ฟังแล้วนับถือและดีใจขึ้นไปอีกที่ได้เป็นเพื่อนกับคนเหล่านี้ ที่มีความมุ่งมั่นและก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆน่าๆกว่าจะมายืนอยู่ในจุดนี้ได้
Closing Ceremonies
เนื่องจาก Kellogg เป็นโรงเรียนที่โด่งดังเรื่อง costume (หรอฟะ ทำไมกุไม่รู้เรื่องมาก่อน) คืออยู่โรงเรียนนี้เสียตังค์ซื้อ costome ไปแล้วครึ่งหมื่นแน่นอน ตอนแรกก็หาใส่ไปอดๆอยากๆ ตอนหลังกุต้องเต็ม 5555
แต่ละ Section ให้นัดกันใส่ชุดอะไรมาก็ได้ให้เหมือนกันๆ Section ฉันให้ใส่ชุดฮาวาย อ้างว่าเพราะเวลาไปชายหาดมีกะถังไปเล่นทราย แต่จริงๆเพราะคนมีเยอะตอนไป KWEST ก็หยิบยืมกันเอาในเวลาสั้นๆ บางคนก็เล่นใหญ่ใส่ชุดกะถังชุดปูอะไรไปตามเรื่องตามราว จ้า เอาให้สุด
CIM Celebration
เป็น event ใหญ่อันแรกของนักเรียน Kellogg และอันเดียวที่ฟรี dress code ของ event แบบนี้คือ formal ผู้ชายในสูทผู้หญิงใส่ dress (จริงๆไม่มีอะไร แค่หาเรื่องแต่งตัวดีไปกินเหล้า) แล้วเดี๋ยวจะมีแบบนี้อีกเยอะ ฉะนั้นถ้าจะมา Kellogg ควรติด dress มานะจ้ะ (คือไม่เน้นสูทเพราะผู้ชายต้องเอามาอยู่แล้วเพื่อใส่สัมภาษณ์หางาน) ไม่งั้นก็มาซื้อ Amazon เอาก็สะดวกอยู่
ปกติแล้วแต่ละ party ของ Kellogg มีธรรมเนียมคือ Pre-game (ไปกินเหล้าอุ่นเครื่องกับเพื่อนกลุ่มเล็ก) Event (กิจกรรมจริงๆที่โรงเรียนจัด) After-Party (รวมตัวกันไป pub ใกล้ๆเมื่อกิจกรรมใหญ่จบ ไม่รู้มันรู้กันได้ยังไงว่าต้องไปผับไหน เค้าบอกต่อๆกันมา) และ After After-Party (จะไปกินไก่ ทาโก้ อะไรก็ว่าไป) ก่อนจะเข้านอนก่อนสว่างเพื่อตื่นมาแฮงค์ในวันถัดไป เดี๋ยวจะเขียนบล็อกแจกแจงรายละเอียดการปาร์ตี้ที่ถูกต้องอีกที ให้สมกับที่มาเรียน party school (น่าภูมิใจจริงๆ)
ส่วนใหญ่ธรรมเนียมคือมา Pre-game กับ KWEST แล้วค่อยนั่งรถไปกันต่อ จะ uber เช่าลีมูซีน หรือ party bus ก็ตามสะดวก คราวนี้เลยรู้เลยว่าทำไมถึงต้องจ่ายเงินเป็นแสนไป KWEST (ซื้อเพื่อนมา 20 คนนี่เอง ไม่ช่ายยยยย)
แต่โรงเรียนก็จัดรถโรงเรียนให้นั่งไปเผื่อใครอยากประหยัด/ไม่มีคนหารค่ารถไปด้วย เพื่อประหยัดเงินส่วนกลาง KWEST ฉันเลยตกลงกันว่าไปรถของโรงเรียนนี่แหละ
เอ้อ ‘รถโรงเรียน’ จริงๆด้วย
เพื่อน KWEST ไม่มีเพื่อนกลุ่มนี้นี่เขินเลยนะเนี่ย ไม่รู้จะไป hang out กะใคร
จบการรับน้องระดับโลกกันเท่านี้ เดี๋ยวมาต่อกันใหม่มุมอื่นนะ สัญญาว่าจะทยอยเขียนออกมาไม่ให้หายนาน อิอิ
Still follows your posts and waiting for every very exciting experience from you.
Thanks Jane.