ความภูมิใจเล็กๆของฉันกับสัปดาห์ร่างแหลก

สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นการทำงานที่เหนื่อยที่สุดตั้งแต่เริ่มต้นทำงานมา (ซึ่งอีกไม่กี่เดือนจะครบ 6 ปี) ฉันขอเรียกมันว่า “สัปดาห์ร่างแหลก” เพราะรู้สึกได้ถึงความร่างทรุดอย่างแท้จริง เลยขอบันทึกไว้เป็นความทรงจำดีๆ (หราา) ความภูมิใจเล็กๆ อาจจะไม่ได้ได้ข้อคิดมาก แต่ยังไงก็อยากเขียนเก็บไว้
ฉันเปลี่ยนงานอีกแล้วนะ (หลังจากเขียนบล็อกก่อน “การลาออกครั้งแรก” ครั้งกระโน้น) เป็นการเปลี่ยนงานโดยเปลี่ยนสายงานไปด้วย + เลื่อนตำแหน่งกระเถิบขึ้นอีกนิด ดังนั้นไม่ต้องถามหาความท้าทาย 9 เดือนที่ผ่านมาไม่มีวันไหนไม่ตื่นเต้น ทั้งงานที่ไม่เคยทำ ปกติเคยทำงานทีละโปรเจคแต่เดี๋ยวนี้มาตรฐานคือ 3 สูงสุดคือ 6 และเจ้านายที่เป็นมหาบอสเทพที่แท้ทรู (ต้องขอบคุณท่านเจ้านายที่ให้โอกาสและขอโทษที่ทำให้เอือมระอากับความง่อยเป็นระยะมา ณ ที่นี้) ซึ่งเดี๋ยวค่อยมาเม้าท์มอยกับงานใหม่ทีหลัง เพราะสามารถเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ได้เลยมั้ง  ตอนนี้มาดูคุณลักษณะกันก่อนว่า “สัปดาห์ร่างแหลก” ของฉันเป็นแบบไหน
  1. งานที่ไม่เคยทำมาก่อน – ซึ่งจริงๆอันนี้ปกติ จากประสบการณ์สิบกว่าโปรเจคใน 9 เดือนที่ผ่านมาแทบจะไม่ซ้ำกันเลย
  2. ทำงานเพื่อนร่วมงานที่มาจากสาขาที่สิงคโปร์ – อันนี้ก็เคยทำมาแล้ว แต่คราวนี้จะไม่มีคนไทยเลย หมายฟามว่า อิงลิช 24 ชั่วโมง
  3. ป็น co-team กับลูกค้าญี่ปุ่นที่มาจากบริษัทแม่ที่โตเกียว – เริ่มยาก เนื่องด้วยข้อจำกัดทางภาษาอังกฤษของลูกค้า และภาษาญี่ปุ่นของฉันที่พูดได้แต่ โออิชิ
  4. ระยะโปรเจคที่สั้นเทียบกับจำนวนงาน – หนักใจสุดๆคือเรื่องนี้ เอกสารที่ต้องดูก่อนเริ่มโปรเจค ระหว่างโปรเจค รายงานที่ต้องทำ รวมกับ PowerPoint presentation ทั้งหมดในสัปดาห์เดียว
  5. เดินทางทุกวัน – คิดว่าข้อนี้ที่เป็นตัวการทำให้ร่างแหลก เพราะการตื่นตี 5 ขับรถไปรอลูกค้าที่โรงแรมใจกลางสุขุมวิท นั่งรอออกไปต่างจังหวัดด้วยกัน กว่าจะกลับถึงกรุงเทพฯ 2 ทุ่ม ขับรถฝ่ากลับมาถึงที่พัก นั่งทำสรุปงาน แค่นอนก็หมดเวลาจะกินกับขี้แล้ว ลืมอึ๊มา 5 วัน ร้อนในเลยถามหา
  6. พูดทั้งวัน – เพราะส่วนใหญ่ต้องสัมภาษณ์คนไทย นั่นคือนอกจากจะสัมภาษณ์ จดบันทึก ยังต้องแปลให้ญี่ปุ่นคุงทั้งหลายฟังไปด้วย ถ้ามีคำถามอังกฤษก็ต้องแปลกลับให้คนไทยฟัง เหล่าคุงอยากได้เอกสารอะไรก็ต้องไปดั้นด้นหามาประเคน (นั่นคือการอ้อนวอนและต่อรองกับคนไทยฝั่งลูกค้า)
  7. ลูกค้ามหาโหด – เป็นญี่ปุ่นอารมณ์เจ้าพ่อมาเฟีย แล้วนางรมณ์เสียมาก่อนจากการเยือนไทยครั้งเก่า เอกสารตกไปใต้ teen พ่อคุณยังแค่เหลือบหางตามามองอิทาสก้มเก็บ (ระหว่างที่อิทาสสัมภาษณ์ แปล และจดไปด้วย) อิทาสเล่นมุกด้วยหวังจะให้ท่านชายให้ความสนิทสนมและเมตตาขึ้นอีกระดับก็ดันภาษาอังกฤษมิแข็งแรง ปวดดดดดดดดด
ถ้าใครบังเอิญอยู่ในสถานการณ์นี้ หรือโปรเจคยากๆ ข้อแนะนำวิธีดังต่อไปนี้
  • หาพันธมิตรให้ได้มากที่สุด: เราต้องรับมือกับเหล่าคุงทั้งหลายแล้ว จงอย่าสร้างศัตรูอีกเลย 5 วันที่ผ่านมาคือเจ๊าะแจ๊ะขั้นสูงสุดกับลูกค้าคนไทย ไม่ว่าจะคนขับรถ แม่บ้านเสริฟ์น้ำ พนักงานระดับปฏิบัติการ ยันผู้บริหาร ยกมือไหว้หมด มีกี่เสียง เสียงสอง เสียงสาม ดึงเอามาใช้
  • จดๆๆๆ: สำหรับโปรเจคข้อมูล overload ขอแนะนำให้ทุกท่านจดเถอะค่ะ โดยเฉพาะตอนแปลข้อความยาวๆหรือข้อเอกสารลูกค้าเยอะๆ จดไว้นี่ช่วยได้มากๆ
  • ฟัง: การทำงานข้ามเชื้อชาติ (ในที่นี้คือพนักงานคนไทยที่มีบริษัทแม่ส่งคนญี่ปุ่นมาบริหาร) ต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นปกติ โดยอาจเกิดจากวัฒนธรรมที่แตกต่างหรือสื่อสารกับไม่เข้าใจก็แล้วแต่ ฟังทั้งสองฝ่ายและพยายามคิดว่าถ้าเราเป็นเค้าจะรู้สึกอย่างไรและช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันด้วยความสามารที่เรามี อย่างในกรณีนี้ฉันพูดไทย – อังกฤษได้ อีกคนที่มาจากสิงคโปรพูดอังกฤษ – ญี่ปุ่นได้ ส่วนใหญ่ฉันจะอธิบายให้เพื่อนร่วมงานของฉันเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าเป็นญี่ปุ่น
  • กระตือรือร้นกับการทำงาน: ในสถานการณ์ตัวคนเดียว (ในที่นี้คือไม่มีคนคุ้มกะลาหัว ตายแล้วตายเลย) ถึงแม้จะเหนื่อยร่างแหกแค่ไหน ก็ต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าเราสดใสรื่นเริงกับการทำงาน ที่สำคัญคือ take their comment seriously และ take action ทันที
  • Add Value: เป็นโชคดีของฉันที่ถูกมหาบอสเคี่ยวกร่ำมาจากโปรเจคอื่นเลยสามารถเสนอคำแนะนำที่ลูกค้าคิดไม่ถึงและสามารถ buy in ได้ ทำให้ได้ความเชื่อใจในระดับหนึ่งและการทำงานในวันต่อๆมาง่ายขึ้น
เวลาได้ยินคนอื่นว่าทำงานหามรุ่งหามค่ำ ก็เคยคิดในใจว่าฉันคงทำได้อยู่แล้ว พอแก่ๆแบบนี้มาเจอสัปดาห์โหดๆแล้วร่างกายมันชักไม่ไหว ยิ่งวันสุดท้ายไปหาลูกค้าที่โรงแรมไม่ทัน (เนื่องจากตื่นสายเอง) ต้องตีรถไปต่างจังหวัดเองนี่แทบสลบคาพวงมาลัย วันเสาร์นอนสลบอืดน้ำลายยืดอยู่ที่พื้นจนแม่กลับบ้านมานึกว่าพะยูนที่ไหนมาตายอยู่กลางบ้าน ฮาาาาาา เลยขอเขียนเก็บไว้เป็นความภูมิใจที่ฉัน survive มาได้ ถึงจะทุลักทุเลอยู่มากก็ตามเหอะ

2 comments

  1. สุดยอดดดดด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*