ชีวิตเด็กเรือ: #1 ทำไมถึงสมัครโครงการเรือ

หลังจากห่างหายไปจากวงการการเขียนบล็อกมานานมาก (จน spam ขึ้นเต็มเว็บ -.-) ก็ได้เวลา update ซักทีสินะ ซีรีย์นี้จะเขียนเกี่ยวกับโครงการเรือที่ฉันจับผลัดจับผลูไปสมัครมา เป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่แปลกใหม่แหวกแนวจนอยากจะมาแชร์

nippon-maru-ship

Source: https://rusa4.wordpress.com/tag/sseayp/

โครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ (The Ship for Southeast Asian and Japanese Youth Programme – ย่อว่า SSEAYP ออกเสียง ‘เซียพ’) เป็นโครงการที่จัดโดยรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อสานสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนจากประเทศที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 11 ประเทศ ใช้ชีวิตอยู่บนเรือสำราญร่วมกันราว 2 เดือน ซึ่งเรือจะแวะเทียบท่าตามประเทศต่างๆด้วย

Image

ครั้งแรกที่ฉันได้รู้จักโครงการนี้จากเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่ผุดขึ้นมาในหัวคือ ‘ชีวิตดี๊ดี ได้ไปเที่ยวบนเรือสำราญโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย’ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าอยากจะสมัครเข้าไป เพราะตัวเองไม่ใช่แนวทูตเจริญสัมพันธไมตรี จิตใจดี พูดไพเราะอยู่แล้ว วันๆ เอาแค่ไม่ทะเลาะกับลูกค้ายังต้องข่มจิตข่มใจอยู่ตลอดเวลา

ตอนที่ได้ไปทำงานที่สิงคโปร์ ยามเย็นว่างๆก็ฉุกคิดขึ้นมาถึงโครงการนี้ เพราะเพื่อนร่วมงานคนที่เล่าให้ฟังนั้น เธอได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศจากบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย เกือบจะได้ไปดันติดโครงการนี้ขึ้นมาซะก่อน เนื่องได้ข้อจำกัดทางด้านเวลา เธอเลยลาออกจากทุนซะเลย! สำหรับฉันที่มีความฝันสูงสุดคือการได้เรียนต่อต่างประเทศถึงกับอึ้ง แสดงว่าโครงการนี้มันคงจะมีอะไรดีแน่ๆ เลยลองถามอากู๋และก็ได้ความว่ากำลังเปิดรับสมัครพอดี เลยได้ที โหลดใบสมัครมานั่งอ่านพร้อมกับชวน(บังคับ)คุณสำลีให้สมัครด้วย ตอนนั้นคิดถึงเรื่องไททานิก มันคงจะโรแมนติกเป็นบ้าเลย

คุณสมบัติหลักๆของคนที่จะสมัครได้คือ
1. สัญชาติไทยตามบัตรประชาชน
2. มีอายุ 18-30 ปี (สาบานว่านั่นเรียกว่าเยาวชน แถวบ้านเรียกว่าวัยกลางคนนะเนี่ย)
3. โสดทั้งนิตินัยและพฤตินัย (โสดค่า แต่พฤตินัยไม่รับประกัน อะจ๊าก)
4. สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอด 2 เดือน (= ลางานได้ไหม ไม่งั้นต้องลาออก กระซิกๆ)
5. และอีกมากมาย ไปหาอ่านต่อได้ตามลิงค์นี้เด้อ ของประเทศไทยจะจัดโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ด.ย.)

การสมัครจะแบ่งเป็นส่วนกลางและส่วนจังหวัด รับอย่างละ 14 คน หญิง 7 ชาย 7 รวม 28 คน ปกติแล้วการคัดเลือกจะมี 2 รอบ คือรอบข้อเขียนและรอบสัมภาษณ์ ถ้าสมัครกับส่วนจังหวัดคือไม่ต้องสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษ อีกทีคือทะลุไปรอบสัมภาษณ์เลย เท่ากับไม่จำเป็นต้องบินกลับมาจากสิงคโปร์ แต่คิดแล้วคิดอีก คุณงามความดีที่เคยมีกับจังหวัดนนทบุรีนั้นหามีไม่ เลยต้องจำใจสมัครกับส่วนกลางและรูดบัตรจองตั๋วเครื่องบินบินกลับมาสอบ (T^T) ซึ่งตอนนั้นจำนวนผู้สมัครส่วนกลางอยู่ที่ประมาณ 300 คน

นอกจากรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับตัวเองที่ต้องกรอกในใบสมัครแล้ว สิ่งที่ต้องเขียนด้วยก็คือ essay ซึ่งหัวข้อก็คือ

‘โปรดบรรยายถึงสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์และการนำประสบการณืที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร’

แม่เจ้า รู้แต่อยากไปเที่ยว อยากลองขึ้นเรือสำราญ แต่ถ้าไม่มีจุดหมายอะไรชัดเจนมันจะเสียเวลาชีวิตไหมเนี่ย เลยไปพลิกโลก (เว่อร์ไป เสิร์จในกูเกิลก็เจอ) ค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเรือทั้งหมดที่จะหาได้ ว่ามันมีจุดประสงค์อะไร มีกิจกรรมอะไรบ้าง เลยนำไปสู่แรงจูงใจในการสมัครโครงการเรือครั้งนี้ นั่นก็คือ คือ คือ Discussion Group หรือการอภิปรายนั่นเอง แล้ว 8 หัวข้อที่จะ discuss กันดันมีเรื่อง school education ที่ฉันสนใจอยู่ด้วย หลายละเอียดจะอยู่ในตอนต่อๆไปนะจ๊ะ

เพิ่งจะมารู้ตอนหลังว่า เพื่อนๆหลายคน (แทบจะทุกคน) มองว่า Discussion Group เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ แต่ฉันมองว่ามันเป็นโอกาสพัฒนาตัวเองอันล้ำค่า เป็นหนึ่งในวิธีการเรียนรู้และฝึกตัวเองในด้านต่างๆที่ดีที่สุดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล แนวคิด การสื่อสาร การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเผลออาจจะแก้ปัญหาในหัวข้อที่ discuss ได้จริง (จินตนาการว่าประเทศไทยจะมีระบบการศึกษาที่ดีขึ้นด้วยมือเรานี่มันคงจะดีมาก <<เพ้อ)

เวิ้นมานานแล้ว ขอจบด้วย essay ในใบสมัครที่ส่งไป รอติดตามการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ในตอนหน้าๆเด้อ

I have been determined to join Ship for Southeast Asian and Japanese Youth Program (SSEAYP) since I heard about it two years ago. The program’s structure which gathers people from Japan and ASEAN countries to share their thoughts and cultures as well as initiating intriguing discussions is what I consider “Necessary Experience”.

Learning is my key expectation of joining SSEAYP. The program offers an excellent opportunity to meet people from numerous foreign countries having differences in the culture, cuisine, architecture, economy, education and even the ways in which conversations being carried out. Consequently, I will be able to gain a widened perspective and look at the world from a different angle. Besides learning from others, I also want to represent Thai people to share our values and identity, form good relationships and promote cultural understanding between Thailand, Japan and the remaining ASEAN countries.

On a personal level, the experiences and skills acquired from SSEAYP will allow me to find solutions for unfamiliar situations and make me able to confront social challenges outside my comfort zone. Friends and connections that I have made during the program will bring more opportunities to both my career and personal life. On a country level, developing a greater understanding of both my own and other cultures will result in minimizing conflict and maximizing cooperation. Conversations with people who have common goals will encourage me to solve national or even international problems, transform Thailand into a more productive, competitive and autonomous country.

I do believe that Ship for Southeast Asian and Japanese Youth Program will provide me invaluable lessons, make me grow into a more responsible and mature person and, undeniably, create some priceless memories. It is the opportunity of a lifetime.

One comment

  1. ขอบคุณมากกกกๆๆๆๆๆๆๆๆเลยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*