เนื่องจากใกล้จะครบปีที่ได้ถูก export ออกมานอกประเทศ ถึงแม้จะเป็นที่ใกล้ๆอย่างสิงคโปร์แต่ก็ทำให้ได้เปิดหูเปิดตาว่าเค้าเป็นอยู่ทำงานกันอย่างไร วันนี้เลยถือโอกาสนั่งวิเคราะห์ลักษณะนิสัยที่ควรมี ถ้าอยากทำงานได้อย่างราบรื่นในต่างประเทศ สรุปออกมาเป็น 10 นิสัยหลัก ดังนี้
หมายเหตุ เป็นประสบการณ์และมุมมองของคนอายุ 24 ปีที่ทำงานที่ประเทศไทยมา 2 ปี และทำงานต่างประเทศมาเกือบปี ผู้อ่านระดับน้องๆจบใหม่หรือคนเพิ่งเริ่มทำงานน่าจะได้ประโยชน์สูงสุด จะดีใจมากถ้าพี่ๆคนไหนมีมุมมองหรือประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังสอนน้องๆ (แต่ขอให้เป็นในทาง constructive comments/sharing นะคะ)
1. Independent (พึ่งพาตัวเอง คิดเองเป็น ทำอะไรคนเดียวได้)
สำหรับฉันถือว่าเป็นนิสัยที่สำคัญที่สุดทำเรื่องการทำงานและเรื่องส่วนตัวในการมาอยู่ต่างประเทศ ส่วนตัวคิดว่าเด็กไทยเราถูกสอนให้ทำตามคำสั่ง มี instruction ให้พร้อมตลอดเวลา ไม่ได้บอกว่าคิดเองไม่เป็น แต่การศึกษากระตุ้นให้พวกเรารู้จักทำอะไรเองน้อยมากเมื่อเทียบกับเด็กจบใหม่ที่นี่ เช่น เวลาหัวหน้าสั่งงาน เค้าจะบอกว่าไปทำ Competitive Intelligence Analysis มา สั้นๆ แต่แม่ม มันคืออะไรฟะ แล้วยังถามต่ออีกว่าจะส่ง draft ให้เค้าดูได้วันไหน นอกจากจะไม่อธิบายว่าม้นคืออะไร ยังให้ตรูคิด deadline เองอี้กกก พอประเมินเยอะๆก็ต้องหาเหตุผลมารองรับให้ได้ว่าทำไมต้องการเวลาเยอะ เป็นต้น (ไม่ได้แปลว่าถามไม่ได้ เพียงแต่เค้าจะไม่มานั่งอธิบายว่าคืออะไร ทำยังไง ต้องไปศึกษาแล้วรวบรวมคำถามไปถามทีหลัง) ทุกอย่างต้องผ่านการคิดคำนวณหาทางออกมาก่อนค่อยไปคุยกับเจ้านาย อีกตัวอย่างคือ เนื่องจากฉันได้รับเลือกเป็น Junior Board หรือสภาผู้แทนราษฎร นอกจากงานหลักแล้วยังต้องทำงานเพื่อชุมชน หลักๆเลยคือการจัดงานต่างๆ เดินเรื่องต่างๆให้เพื่อนร่วมงานมีชีวิตที่สุขสบายคือ เวลาประชุมกัน chairman ก็จะมอบหมายงานให้สมาชิกไปทำกัน แล้วมันจะสั้นมาก เช่น ไปทำกิจกรรม Christmas ในออฟฟิศมานะ = ล็อกวัน ส่ง invite ให้ทุกคนในบริษัท หาอาสาสมัครในการจัดงาน คิดตีมงาน คิดงบ ขออนุมัติ ประชาสัมพันธ์ จัดงานจริง ฯลฯ ตอนแรกๆจะเบลอๆ ไม่รู้จะทำอะไรดี ตอนหลังเริ่มจับ pattern ได้ แล้วไม่ต้องคิดฝันว่าใครจะมายืนเคียงข้าง ช่วยเหลือนะ ต้องใช้ skills ของเราล็อกตัวมันมาช่วยให้ได้ – -+
เรื่องส่วนตัวก็เช่นกัน ตอนทำงานที่ไทยจะสังเกตเห็นว่า เวลาไปไหนเราต้องไปด้วยกัน กินข้าวกลางวันด้วยกัน ทำกิจกรรมด้วยกัน มาอยู่ที่นี่ลืมไปเลย พวกเขาใช้ชีวิตอยู่กันด้วยคอนเซ็ปต์ individuals who are friends คือต่างคนต่างไป นัดเจอนัดสังสรรค์ กินข้าวกลางวันด้วยกันบ้าง แต่มีโอกาสสูงมากที่เพื่อนที่ทำโปรเจคเดียวกันมันจะทิ้งคุณไปกินกลางวันโดยไม่บอกกล่าว ต้องกล้าที่จะนั่งกินข้าวหรือไปไหนมาไหนคนเดียว เวลาใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศจะปวดฟัน เป็นหวัด โดนอายัติบัตรเครดิต หลอดไฟเสีย กุญแจติด หรืออะไรก็แล้วแต่ต้องตั้งสติแล้วแก้ปัญหาด้วยตัวเองให้ได้ (Internet เป็นเพื่อนคู่คิดที่ดีเสมอ ณ จุดๆนี้)
2. Confident (มั่นใจ)
สิ่งที่จะเป็นตัวฉุดรั้งความมั่นใจของคุณมากที่สุดคือเรื่องภาษา (นอกจากคุณจะพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักหรือเรียนในโรงเรียนนานาชาติมาตลอด) จากที่เคยมั่นใจว่าภาษาตรูก็เข้าขั้นนะเฟ้ย มาที่นี่จ๋อยแดรกมาก มันพูดกันรัวเร็วแกรมม่าเป๊ะ อาชีพอื่นอาจจะหยวนกันได้ แต่อาชีพฉัน ภาษาและการสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก พูดฟังอ่านเขียนทั้งวัน จนตอนแรกแอบท้อแล้วทำให้ลังเลในการออกความคิดเห็น แต่ท้ายที่สุดแล้วถ้าเรามัวแต่กลัวก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เลยรวบรวมความมั่นใจแล้วพูดแหลก หาโอกาสพูดเยอะๆ hang out คุยเรื่องยากๆเช่น ปรัชญา ศาสนา การเมือง การเงิน ศีลธรรม ฯลฯ กับเพื่อนชาวต่างชาติเป็นการฝึกสมองและฝึกภาษาอังกฤษไปในตัว อย่ากลัว แล้วเวลาโดนว่ามาก็อย่าอาย เพราะมันต้องโดนกันอยู่แล้ว อย่างฉัน ทั้ง report ผิดเติม s, ed และ preposition เป็นอย่างละจุด เจ้านายด่ามาเลยในกรุ๊ปสนทนาที่มีคนอื่นๆอยู่ด้วยว่า Your English should be improved, it’s not there yet. ถามว่าอายไหม เคยอายนะ แต่เดี๋ยวหน้าหนามาก ช่างมัน not there yet แต่ will be there soon เฟร้ยยยย
3. Speak-up (ออกความคิดเห็น)
นั่งเฉยๆในที่ประชุมหรือแม้กระทั่งในโต๊ะอาหารเป็นสิ่งที่อันตรายมากต่อหน้าที่การทำงาน เพราะคุณจะดูเป็นคนคิดไม่เป็น ไม่ให้ความร่วมมือกับสังคม ไม่เป็นผู้นำ/ลูกทีมที่ดีไปโดยปริยาย ต้องฝึกคิด ฝึกพูด เสนอไอเดีย คัดค้าน defend แต่ต้องทำอย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผลรองรับ บางคนคิดว่าโอ้ย ไอพวกโม้ ดีแต่ปาก บลาๆ เก่งจากข้างในแบบฉันดีกว่า แล้วใครมันจะไปรู้ว่าคุณเก่ง ถ้าคุณไม่แสดงมันออกมา คนอื่นเค้าไม่ได้มีเวลามานั่งสนใจพนักงานตัวเล็กอย่างเราขนาดนั้น ไม่ได้บอกให้โม้ แค่ต้องรู้จักถ่ายทอดสิ่งที่เราคิดออกมาด้วยเท่านั้น
4.Build relationship/networking (เข้าสังคม)
ณ จุดๆนี้ มันสำคัญโคตรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร ไม่ใช่แค่กับเพื่อนร่วมงานอย่างเดียว เจ้านาย ลูกค้า ทุกคน ถือเป็นเครือข่ายที่ต้องสร้างไว้ จงอย่าได้เหนียมอาย เจอเจ้านาย หรือแม้กระทั่งหุ้นส่วนบริษัทเดินๆอยู่ ก็ชวนเค้ากินกาแฟ สวนกันในลิฟต์ก็ทักทาย 1 นาทีในลิฟต์จริงๆคุยได้เป็นเรื่องเป็นราว ยิ่งสังคมต่างประเทศที่ seniority ไม่ได้เป็นประเด็นหลักนี่ยิ่งง่าย หัดทำกิจกรรมเยอะๆด้วย พอคุณมี connection เยอะๆแล้วจะคิดขอบคุณตัวเองเพราะโอกาสและความช่วยเหลือหลายๆอย่างจะเข้ามาจากคนที่คนรู้จักนั่นเอง
5. Omniscient (รอบรู้)
ข้อ 3 กับ 4 จะทำได้ดียิ่งขึ้นถ้ามีความรอบรู้ ฉะนั้น (อันนี้บอกตัวเองด้วย) ต้องอ่านหนังสือพิมพ์ ดูข่าว อ่านเรื่องราวต่างๆเยอะๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจและการเงิน ฝึกคิดวิเคราะห์ข่าวด้วย เพราะสื่อกลางชั้นดีในการออกความคิดเห็น บางทีคุยกับเพื่อนแล้วรู้สึกถึงความต่างในเรื่องนี้ แมร่งอ่านหนังสือเยอะมาก รู้เยอะมาก บางครั้งถึงกับเกือบจะเป็นใบ้ในโต๊ะอาหาร ต้องแก้ขัดด้วยการโยนคำถามเยอะๆ = =
6. Objective (เป็นกลาง ไม่ด่วนตัดสินคนอื่น)
จากความเห็นส่วนตัว สังคัมเราเป็นเอามากที่ชอบตัดสินคนจากภายนอก เห็นหน้าตาโหดๆหน่อยเป็นดุ บึ้งๆหน่อยว่าหยิ่ง ไม่สวยหน่อยคือไม่อยากคุย พอมาที่นี่มันหลากหลายมาก นิยามความงามความเป็นผู้ดีก็แตกต่างกันไปตามสัญชาติ ให้คิดว่าจะอ้วนผอมดำขาวทุกคนก็มีความสามารถเหมือนกันถึงมายืนอยู่จุดนี้ได้ อย่าปฏิบัติตัวต่อคนอื่นไม่ดี เพียงเพราะอคติที่เรามี
ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอก เลยไปจนถึงการกระทำ อย่าเพิ่งด่วนไปตัดสินเค้า พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะบางทีเค้าอาจจะมีเหตุผลที่ต้องทำแบบนั้น ตัวอย่างเช่น ไองาน สส นี่แหละ ตอนแรกๆเหมือนฉันกับสมาชิกอีก 2-3 คนทำกันอยู่แค่นั้น คนอื่นอ้างตลอดว่ายุ่ง ไม่มีเวลาจนโมโห เกือบมีเรื่องกันกลางห้องประชุม พอมาถึงวันหนึ่งเรายุ่งบ้าง คือเข้าใจฟิลลิ่งเค้าเลยตอนนั้น แบบแค่งานก็ 4-5 ทุ่มทุกวันแล้ว เวลากินข้าวยังไม่มี ให้ตรูไปทำอะไรอีกฟระเนี่ยยยย พวกเค้านี่แหละที่อาสาทำงานแทนให้จนรู้สึกถึงน้ำใจที่มี อีกกรณีหนึ่งคือมีเหตุต้องติดต่อกับทีมญี่ปุ่นเพื่อประสานงานบางอย่าง ทุกครั้งที่มีการ conference call พวกเราหงุดหงิดมาก คือพูดเสียงแหลม กระโชกโฮกฮาก พูดเรื่องหนึ่งเข้าใจเป็นอีกอย่างหนึ่ง อะไรฟระ แต่เจ้านายบอกว่าอย่าเพิ่งไปคิดแบบนั้น เค้าอาจจะมีเหตุผลอะไรซักอย่าง แล้วก็จริงที่ว่า เพราะ language barrier ประกอบกับการโทรคุยกัน ทำให้ต้องตะโกน ใช้ภาษาที่ไม่ค่อยสุภาพ หรือ เข้าใจผิดเป็นอีกเรื่อง เจอตัวจริงนี่สุภาพน่ารักแท้
7. Open to comments (เปิดใจให้คำวิจารณ์)
ด่าได้เจ็บและตรงมากกกกกกก ไม่มีมาอ้อมน้อยอ้อมใหญ่ บางทีก็ว่าต่อหน้าคนอื่นนี่แหละ ทุกวันนี้บางทีก็ยังสะอึกอยู่ บางครั้งฉันคิดว่าพวกเราที่เป็นเด็กก็มีทิฐิอยู่มาก คิดว่าข้าแน่ข้าเก่งจนไม่ยอมเปิดรับอะไรเลย อย่าเป็นแบบนั้น ให้ทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้ว พร้อมที่จะเรียนรู้ได้ทุกวัน อย่าเถียง(แม้กระทั่งในใจ)ก่อน ฉันรู้ว่ามันยาก แต่รับฟังและคิดตาม และอย่าถือเป็นเรื่องส่วนตัว แบบแค้นฝังหุ่นอะไรแบบนั้น
ส่วนผู้ใหญ่บางคนที่ไม่ยอกรับฟังความเห็นเด็กๆก็ขอให้เปิดใจบ้าง เพราะพอมาอยู่ที่นี่ สามารถ challenge หัวหน้าได้ตลอดเวลาแล้วรู้สึกว่างานมันออกมาดีมากๆ ส่วนใหญ่สังคมเราจะค่อนข้างติด seniority เด็กมันพูดมากหน่อยก็หาว่าก้าวร้าว สังคมต่างประเทศนะหรือ บางที่เพื่อนมัน challenge เจ้านายจนกระทั่งกลัวโดนตบแทน แต่ที่นี่เค้าถือเป็นเรื่องปกติ งานคืองาน ถ้าทำแล้วงานออกมาดีไม่ถ่วง discussion ก็ทำปายย
หวังว่าคงมีประโยชน์กันบ้าง ถามว่าฉันทำหมดนี้ได้ไหม ตอบได้เลยว่าพยายามอยู่ บางทีก็ยังติดนิสัยเก่าๆ สังคม ความรู้สึกเก่าๆบ้าง แต่ถ้าเราได้พยายามทุกวัน มันคือการพัฒนาทุกวัน จริงไหม